วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น่ารู้ก่อนเดินทางไปเที่ยวบาหลี




อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยหมู่เกาะ 18,110 เกาะ และมีคนอาศัยอยู่เพียง 6,000 เกาะ เท่านั้น เกาะที่สำคัญ 5 เกาะได้แก่ สุมาตรา, ชวา, กาลิมันตัน, สุละเวสี และปาปัว มีพื้นที่ทั้งหมด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทะเลถึงร้อยละ 81 ตั้งอยู่ระหว่างทวีปเอเซียและทวีปออสเตรเลีย ติดกับ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ตรงจุดปะทะของแนวภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง อินโดนีเซียมีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม กว่าร้อยละ 85 คาทอลิก ร้อยละ 3 ฮินดู ร้อยละ 2 และ พุทธ ร้อยละ 1

      - บาหลี เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีพื้นที่เพียง 5,620 ตารางกิโลเมตร บริเวณที่กว้างที่สุดมีระยะทาง 140 กิโลเมตร และบริเวณที่ยาวที่สุดเพียง 80 กิโลเมตร เท่านั้น ภูมิประเทศมีความหลากหลายมาก พื้นที่ตอนกลางนั้นมีภูเขาไฟซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเกาะและยุงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟกุหนุงอากุง มีความสูงถึง 3,142 เมตร นอกจากภูเขาสูงแล้วยังมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ พร้อมกับหาดทรายขาวละเอียดทอดยาวไปตามแนวชายฝั่ง ทางตอนใต้ของบาหลีเป็นแหล่งปลูกข้าวบนนา บันได และทางตอนเหนือปลูกกาแฟ เครื่องเทศ และต้นสลัก บาหลีมีประชากรราว 3 ล้านคน ซึ่งดำรงชีวิตแบบครอบครัวใหญ่และชุมชนใกล้ชิด มีความรัก และหวงแหนในวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ ศาสนาประจำของชาวบาหลีคือศาสนาฮินดู ที่เรียกว่า ฮินดูธรรม ซึ่งได้รับอิทธิพล จากชวา เป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดูแบบที่นับถือพระศิวะเป็นส่วนใหญ่ กับศาสนาพุทธซึ่งแพร่หลายเข้ามาก่อนหน้า

      โดยหลักปฏิบัตินั้นได้มาจากปรัชญาอินเดีย ร่วมกับการประกอบพืธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อท้องถิ่น สังคมของบาหลีเป็นสังคมแบบฮินดู มี 4 วรรณะ เช่น เดียวกับอินเดีย คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทธ แต่ไม่ถือแบ่งแยกวรรณะอย่างเคร่งครัดและไม่สงวนสิทธิ์ที่จะได้รับโอกาสในการทำงานเท่าเทียมกัน ยกเว้นการแต่งงานเท่านั้นที่ผู้หญิงในวรรณะสูงศักดิ์มักจะไม่แต่งงานกับผู้ชายวรรณะศูทธ และคนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์เท่านั้นจึงจะเป็นนักบวชผู้ประกอบ พิธีทางศาสนาได้

      - วีซ่า สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยไม่ต้องขอวี่ซ่าเพื่อเข้าบาหลี ใช้เพียงแค่หนังสือเดินทางที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 ดือน ก็สามารถเดินทาง ได้ทันที

      - กระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่บาหลี 220 โวลท์ 50ไซเคิล ปลั๊กที่ใช้เป็น รูกลม 2 ขา

      - หน่วยเงิน/อัตราแลกเปลี่ยน หน่วยเงินของบาหลีและอินโดนีเซียเป็นรูเปียห์ (Rupiah) มีมูลค่าประมาณ 10,000 รูเปียห์ ต่อ 4 บาท หรือ 1 เหรียญสหรัฐฯ จะแลกได้ 9,000 รูเปียห์ (ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2553) ธนบัตรมีมูลค่า 100, 500, 1,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000, 100,000 รูเปียห์ ส่วนเหรียญมีมูลค่า 25, 50, 100 และ 1,000 รูเปียห์ อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนเงินรูเปียห์นั้นผกผันได้อย่างมาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้ดีอีกครั้ง ก่อนออกเดินทาง และธนบัตรมูลค่าต่ำ เช่น 10 หรือ 20 เหรียญสหรัฐฯ จะได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำกว่าธนบัตร 100 เหรียญสหรัฐฯ

      หากเดินทางออกไปตามหมู่บ้าน ควรแลกเงินรูเปียห์ออกไปให้พอเพียงที่จะใช้และควรแลกใบย่อยด้วย อย่างไรก็ดีร้านขายของที่ระลึกในเขตกูต้า ชานูร์ และนูซาดูอา มักยอมรับเงินเหรียญสหรัฐฯด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันสกุลเงินบาทของไทยนั้นก็เป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดีในบาหลีสามารถจะแลกที่ร้าน รับแลกเงินใดก็ได้ อนึ่งควรแลกเงินเฉพาะกับธนาคารหรือร้านแลกเงินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

      - บัตรเครดิต บัตรเครดิตเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปตามร้านค้า โรงแรม และภัตตาคารในย่านแหล่งท่องเที่ยวแต่อย่างไรก็ตามถ้าเข้าไปในหมู่บ้านก็ควรจะมีเงินรูเปียห์ ติดตัวไปด้วย บัตรเครดิตที่รับ คือ วีซ่า, มาสเตอร์การ์ด และอมเริกันเอ็กเพรส และมีตู้เอทีเอ็มและมีตู้เอทีเอ็มอยู่ทั่วไปบริเวณกูต้าและซานูร์

      การติดต่อสื่อสาร

      - ไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์เปิดทำการวันจันทร์-เสาร์ โดยวันจันทร์-พฤหัสบดี เปิดเวลา 8.00-14.00 น. วันศุกร์ 8.00-11.00 น. และวันเสาร์ 8.00 -12.30 น. สามารถหาซื้อแสตมป์ ซองจดหมาย กระดาษเขียนจดหมาย และอุปกรณ์การส่งพัสดุต่างๆ รวมทั้งแสตมป์เพื่อการสะสมได้ในบางเมืองใหญ่และแหล่งท่อง เที่ยวจะมีไปรษณีย์ของเอกชนทำการด้วย ซึ่งสามารถซื้อแสตมป์ส่งจดหมายและพัสดุได้ แต่อาจใช้เวลานานกว่าของทางการเล็กน้อย หาต้องการส่งโปสการ์ดหรือจดหมายกลับเมืองไทยต้องติดแสตมป์ราคา 4,000 รูเปียห์ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน

      - โทรศัพท์ โทรศัพท์สาธารณะในบาหลีมีบริการในบริเวณที่เป็นแหล่งความเจริญและแหล่งท่องเที่ยว เช่นกูต้า เดนปาซาร์ และอูบุด ซึ่งจะเป็นของรัฐ คือ Kantar Telkom และ Wartel Telkom แต่ก็มีที่เป็นของเอกชนซึ่งเป้นร้านให้บริการ (Teleshop) เช่นกัน

      โทรศัพท์สาธารณะมีบริการทั้งแบบใช้บัตรโทรศัพท์ โดยแบบหยอกเหรียญสามารถใช้เหรียญ 50 หรือ 100 รูเปียห์ ส่วนบัตรโทรศัพท์มีตั้งแต่ 60, 100, 140, 280, 400 และ 680 ยูนิต สามารถหาซื้อได้ที่สำนักงานโทรศัพท์ ที่ทำการไปรษณีย์ และเคาร์เตอร์แลกเงินในบางจุด ค่าโทรศัพท์กลับมาเมือง ไทยจะตกอยู่ในราวนาทีละ 10,000 รูเปียห์

      หากจะโทรกลับประเทศไทย จะต้องหมุน 001+ 66 + หมายเลขที่ต้องการ เช่น 001+ 66 + 297-4266 และหากต้องการเป็บเงินปลายทางจะต้อง ผ่านโอเปอเรเตอร์ (Thailand Direct) คือ 000 966

      การโทรไปยังบาหลีต้องกดรหัสประเทศอินโดนีเซีย คือ 62 ตามด้วยรหัสเมืองของบาหลีและหมายเลขที่ต้องการ หรือกด 100 เป็นบริการผ่านโอ เปอเรเตอร์

      รหัสเมืองภายในประเทศบาหลี

      กูต้า – เลเกียน – เซมันยัก, เดนปาซาร์, นูซาดูอา, ซานูร์, อูบุด, เกียนยาร์ 361

      โลวิน่า, สิงคราชา, คิตามณี 362

      ชานดิดาสา, เตียตาร์กกังกา 363

      เนการา, เมเดวี, กิลิมมานุก 365

      บาตู 366 เบดูกัล 368

      หมายเลขโทรศัพท์สำคัญที่ควรรู้

      ข้อมูลสนามบิน 751011 ext 1454

      รถพยาบาล 118

      ดับเพลิง 113

      ตำรวจ 110

      บรรเทาสาธารณภัย 51111

      โอเปอเรเตอร์ต่างประเทศ 101

      ธนาคาร/บัตรเครดิต

      - วีซ่า 226578

      - มาสเตอร์การ์ด 222652

      - อเมริกันเอ็กซ์เพรส 288511 ต่อ 111 หรือ 773334

      - ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่บาหลีใช้คือ 220-240 โวลต์ แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ห่างไกลใช้เพียง 110 โวลต์ ดังนั้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาจากประเทศไทยสามารถนำ ไปใช้ได้ในบางพื้นที่เท่านั้น และปลั้กไฟ เป็นแบบสองตา

      - น้ำ น้ำประปาที่ปาหลีนั้นยังไม่สะอาดนัก ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มจากก๊อก ใหดื่มน้ำบรรจุขวดที่ปิดผนึกแน่นหนาจะดีกว่า

      - เวลา เวลาของบาหลีอยู่ใน Central Indonesian Time ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล (GMT) 8 ชั่วโมง ซึ่งคือเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

      - เวลาทำงานและประกอบกิจการ เวลาเปิดปิดของสถานที่ต่างๆจะไม่ตรงกันหากเป็นสำนักงานทั่วไป เช่น สายการบินจะเปิดวัน จันทร์– ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. และมีเวลา หยุดพักกลางวันต่างๆกันไป ธนาคารจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-15.00 น. และวันเสาร์เปิดตั้งแต่ 8.00-13.00 น.

      ร้านค้าทั่วไปเปิดประมาณ 10.00 – 20.00 น. และอาจเลยไปถึง 22.00 น. แต่หากร้านค้าพื้นเมืองหรือตามหมู่บ้านจะปิดค่อนข้างเร็ว และ ตลาดจะ เริ่มขายกันตั้งแต่รุ่งสางจนกระทั่งประมาณ 10.00 น.

      ส่วนสถานที่ราชการนั้นจะเปิดทำการวันจนทร์ –พฤหัสบดี เวลา 8.00-15.00 น. วันศุกร์ 8.00-11.30 น. และวันเสาร์ 8.00-12.00 น.

      - อาหารการกิน อาหารการกินที่บาหลีถึงแม้จะไม่อุดมสมบูรณ์เท่ากับแหล่งภูมิภาคอื่นในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็มีอาหารให้เลือกหลากหลายให้เลือกไม่ว่า จะเป็นฟาสฟู้ดง่ายๆ เช่น แมคโดนัล, เบอร์เกอร์คิงส์, เคเอฟซี, ดังกิ้นโดนัท หรืออาหารจากรถเข็นและพ่อค้าแม่ค้าเร่ อย่างก๋วยเตี๋ยวไก่น้ำข้น(Soto Ayam), ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส(Bakso), หมี่น้ำ(Bakmie Kuah), หมี่ผัด(Mee Goreng) เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีร้านอาหารอยุ่ทั่วไปที่ให้บริการแบบสากล ราคาขึ้นอยู่ กับสถานที่ตั้งและคุณภาพของอาหาร ตั้งแต่ 1-4 เหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่านั้น

      - อาหารอินโดนีเซีย อาหารอินโดนีเซียจะมีข้าวและก๋วยเตี๋ยวเป็นหลักรสชาติเข้มข้นด้วยเครื่องเทศต่างๆและซอสพริก (Sambal)อาหารที่สามารถหารับประทานได้ง่าย คือ Nasi Campur เป็นอาหารจานเดียว มีข้าวขาวกับกับข้าวหลายๆอย่าง ทั้งผักและเนื้อสัตว์ใส่มารอบจาน Nasi Goreng คือ ข้าวผัด เคียงมาในจานด้วยผัก ไก่ทอด ปลา ฯลฯ เสริฟพร้อมกับข้าวเกรียบกุ้ง อาหารที่นิมไม่แพ่กันคือ Gadogado เป็นผักนึ่งพร้อมน้ำจิ้มรสเข้มข้นหรือจะลองชิมสะเต๊ในสไตล์ของ อินโดนีเซียก็ดูไม่เลว และหากอยากกินข้าวกับกับข้าวหลายๆอย่าง ต้องมองหาร้านที่เขียนว่า Nasi Padang ซึ่งมีกับข้าวให้เลือกมากมาย เมื่อเลือกแล้วจะมา เสริฟในจานเล็กๆ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแกงกะทิใส่เครื่องเทศรสเผ็ด

      - อาหารบาหลี อาหารบาหลีส่วนใหญ่จะเป็นข้าวและกับอาหารที่ขึ้นชื่อคือ Babi Guling หรือหมูหันย่างกรอบ และ Bebek Betutu หรือเป็ดอบรมควันแสนอร่อย

      - อาหารทะเล หากมายังดินแดนที่เป็นเกาะแล้วไม่ได้ลิ้มรสอาหารทะเล ก็คงเหมือนกับมาไม่ถึงบาหลีนั่นเองบริเวณที่ขายอาหารทะเลสดๆและมีชื่อของ บาหลีคือ จิมบารัน(Jimbaran) และชานดิดาสา (Candidasa)

      - การทิป การทิปไม่จำเป็นสำหรับผู้ที่ให้บริการชาวบาหลี ยกเว้นเมื่อไหว้วานให้พนักงานบริการในโรงแรมช่วยยกของ หรือ คนขับรถ ไกด์ท้องถิ่น คนขับ แท็กซี่ที่บริการดีก็อาจจะให้เป็นสินน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ

      อย่างไรก็ดี บางครั้งจะมีผู้ฉวยโอกาสเรียกร้องทิป อย่างเช่นผู้ให้บริการริมชายหาด หรือ แท็กซี่ส่วนบุคคล จึงอาจจะต้องทิปบ้างเพื่อตัดความรำคาญ

      - ข้อเตือนใจในการเที่ยวบาหลี

      · ทาครีมกันแดดเสมอเมื่อออกจากที่พัก เนื่องจากแดดแรงมาก โดยเฉพาะมื่อลงน้ำ

      · ดื่มน้ำมากๆเพื่อร่างกายจะได้สดชื่นไม่เพลียจากการสูญเสียน้ำ

      · ระวังรักษาสิ่งของมีค่าที่อยู่กับตัวเสมอ เนื่องจากมีผู้ไม่หวังดีเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่คนเยอะเอกสารสำคัญหรือสิ่งของมีค่าควร เก็บไว้ในตู้เซฟของโรงแรม และกระเป๋าที่พกติดตัวก็ควรมิดชิดเช่นกัน

      · ควรมีสำเนาพาสปอร์ตติดตัวไปด้วยเสมอ

      · เมื่อลงไปว่ายน้ำ อย่าออกไปว่ายนอกเขตที่กำหนดไว้ เนื่องจากกระแสน้ำแรงมากให้ว่ายบริเวณระหว่างธงแดงและธงเหลือง

      · อย่าพกพาหรือเสพยาเสพติดใดๆทั้งสิ้น หากถูกตรวจพบอาจถูกจำคุกไปจนกระทั่งประหารชีวิต

      · อย่าเดินเหยียบเครื่องบูชาที่วางไว้ตามพื้น

      · อย่าแตะศรีษะผู้อื่น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับศาสนาฮินดู นอกจากนั้นจะต้องไม่รับหรือส่งของด้วยมือซ้าย ซึ่งที่บาหลีถือว่าเป็นมือ สำหรับชำระล้างในห้องน้ำ

      · สำหรับผู้หญิง ห้ามเข้าวัดหากอยู่ในระหว่างมีประจำเดือน

      · ในการเข้าชมวัดต้องแต่งตัวเรียบร้อย ใส่เสื้อมีแขน ไม่เปิดไหล่ ไม่ใส่กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสั้น ไม่เช่นนั่นจะต้องนุ่งโสร่ง ซึ่งวัดใหญ่ๆจะมีให้เช่า และทุกคนต้องใช้ผ้าคาดเอวซึ่งส่วนมากจะให้บริการฟรี แต่มักมีการเก็บเงิน ทางที่ดีถ้ามีโปรแกรมเข้าวัดเยอะๆ ก็ควรพกผ้าคาดเอวส่วนตัวไปเลย

      · หากเข้าไปในวัดขณะที่กำลังมีพิธีไหว้อยู่ควรนั่งชมอยู่ห่างๆ และไม่ยืนค้ำคนที่นั่งไหว้อยู่หรือยืนค้ำเครื่องบูชา อีกทั้งไม่ควรถ่ายรูปโดยใช้แฟลช

      · ก่อนจะซื้อสินค้าให้ตรวจสอบราคาที่ตกลงกันไว้ให้ดีก่อน ทางที่ดีพกเครื่องคิดเลขติดตัวไว้ด้วยจะช่วยได้มาก และอย่าลืมต่อรองราคาให้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้

      · ตรวจสอบเมื่อแลกเงินและแลกเงินเฉพาะกับธนาคารหรือร้านรับแลกเงินที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเท่านั้น เพราะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเจอ ปัญหาเรื่องโดนโกงโดยให้เงินกลับมาไม่ครบ อย่าเห็นแต่อัตราแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าร้านอื่นเพราะอาจเสียเงินไปมากกว่าที่คิดว่าจะได้ ควรใช้เครื่องคิดเลข ของตัวเองคิดคำนวนเงิน อย่าไว้ใจตัวเลขที่ร้านรับแลกคิดให้ดู

      · หากคนขายของตามร้านข้างทางเรียกให้ซื้อของ ถ้าไม่ต้องการซื้อก็อย่าไปต่อรองราคาเล่นๆ ให้กล่าวว่า “No, thank you” แล้วเดินไปเสีย เพราะถ้า ต่อแล้วไม่เอาอาจเป็นเรื่องราวใหญ่โตได้

      · ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆโดยเฉพาะตามวัด อาจมีคนท้องถิ่นมาอ้างว่าจะเข้าเที่ยวสถานที่นั้นๆ ได้เฉพาะเมื่อมีไกด์นำไปเท่านั้น และเรียกร้องค่านำ เที่ยวเป็นจำนวนเงินต่างๆกัน ซึ่งเป็นเรื่องน่ารำคาญและอาจมีปัญหาได้ถ้าไม่ใช่นักผจญภัยที่พร้อมลุยทุกสถานการณ์การจ้างไกด์ท้องถิ่นอย่างเป็นทางการ พร้อมรถบริการก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้

      · การซื้อตั๋วโดยสารเรือ รถ หรือจองทัวร์ใดๆก็ตาม ควรทำกับสำนักงานในโรงแรมที่พักหรือบริษัทที่เชื่อถือได้เท่านั้น ระวังพวกต้มตุ๋นริมถนนที่อ้างว่าขาย ตั๋วราคาถูกพิเศษให้ อาจเสียเงินไปฟรีๆได้





พม่า , เที่ยว พม่า , ทัวร์พม่า 1 วัน , ทัวร์พม่า เทพทันใจ, ทัวร์พม่า ชเวดากอง,เที่ยวบาหลี, ทัวร์บาหลี หาดคูต้า, ทัวร์บาหลี 3วัน, ทัวร์บาหลี ราคา, ทัวร์บาหลี ทะเล,ทัวร์บาหลี ที่ไหนดี, โปรแกรมทัวร์บาหลี 3 วัน, แนะนำเที่ยว พม่า, เที่ยว พม่า ,เที่ยวพม่า ย่างกุ้ง, ทัวร์พม่า 2 วัน , ทัวร์พม่า เทพทันใจ, ทัวร์พม่า ชเวดากอง, ทัวร์พม่า 2556, ทัวร์พม่า ราคาถูก, ทัวร์พม่า ที่ไหนดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น